Positions and rules
Volleyball's Positions
1) Setter (S) – เป็นตำแหน่งที่สำคัญที่สุดเรียกได้ว่าเป็นหัวใจหลักของทีมเลยก็ว่าได้ เพราะผู้เล่นตำแหน่งนี้จะต้องใช้ไหวพริบอย่างมากในการจ่ายบอลให้เพื่อนร่มทีม เพื่อการทำคะแนน ไม่เพียงเท่านั้นตำแหน่งนี้จะต้องคอยแก้ไขสถานการณ์ยามคับขัน และยังสามารถขึ้นกำแพงบล็อคสามด้านข้างสนามร่วมกับตัวบล็อคได้อีกด้วย
ผู้เล่นตำแหน่งเซตเตอร์ในเรื่อง: คาเงยามะ โทบิโอะ ,สึกาวะระ โควชิ ,โออิคาวะ โทรุ ,เคนมะ โคสุเมะ
2) Outside Hitter (OH) หรือ Wing Spiker (WS) – มี 2 คนยืนไขว้กันหรือตรงข้ามกันแล้วแต่กันจัดตำแหน่งของโค้ช ส่วนมากจะมี 1 คนยืนเสาซ้าย ทำหน้าที่เป็นตัวตบหลักของทีมและอีก 1 คนอยู่แดนหลัง มักจะเป็นผู้มีทักษะด้านการรับลูกที่ดี ทำหน้าที่คอยรับบอลเสิร์ฟ ป้องกันเกมส์รุก
ผู้เล่นตำแหน่งตัวตบในเรื่อง: ซาวามุระ ไดจิ ,ทานากะ ริวโนะสุเกะ ,อิวาอิสึมิ ฮาจิเมะ ,โบคุโตะ โคทาโร่ ,ซาคุสะ คิโยโอมิ
3) Middle Blocker (MB) – เป็นตำแหน่งผู้เล่นที่อยู่ตรงกลางของแดนหน้า ทำหน้าที่หลักในการบล็อกลูกหรือสกัดบอลไม่ให้อีกทีมสามารถตบบอลผ่านแดนเข้ามาได้ ส่วนหน้าที่รองคือ การทำแต้มจากบอลเร็ว ส่วนใหญ่ผู้เล่นตำแหน่งนี้จะมีด้วยกันทั้งหมด 2 คน และมีความสูงมากกว่าตำแหน่งอื่นๆ ถ้าแต้มไหนทีมต้องรับบอลเสิร์ฟ มักจะเปลี่ยน 1 คนออกมาแล้วให้ลิเบโร่เข้าไปในสนามแทน
ผู้เล่นตำแหน่งบล็อคกลางในเรื่อง: ฮินาตะ โชโย ,สึกิชิมะ เคย์ ,คุโรโอะ เท็ตสึโร่ ,เทนโด ซาโทริ
4) Opposite (OP) – ตัวตบที่จะยืนตรงข้ามกับตัวเซ็ต ในกรณีที่ตัวเซ็ตรับบอลแรกในบางสถานการณ์ที่ตัวเซ็ตรับบอลแรก ตำแหน่ง OP จะเป็นคนเซ็ตแทน ส่วนมากจะเป็นตัวตบทำคะแนนหลัก ไม่ค่อยเน้นรับบอลแรกที่เสิร์ฟมาจากอีกฝั่ง เน้นรอขึ้นตบทำคะแนนอย่างเดียว มักจะยืนทางเสาขวา
ผู้เล่นตำแหน่งตรงข้ามตัวเซตในเรื่อง: อุชิจิมะ วากาโทชิ ,อาสึมาเนะ อาซาฮี ,โคโนฮะ อากิโนริ ,เคียวทานิ เคนทาโร่ ,ฮินาตะ โชโย (MSBY)
5) Libero (L) – ลิเบโร่ หรือตัวรับอิสระ ตำแหน่งของผู้เล่นที่มีความเชียวชาญทางด้านการรับลูก จึงไม่จำเป็นว่าผู้เล่นต้องตัวสูง และเป็นตำแหน่งพิเศษที่ผู้เล่นจะถูกกำหนดให้ใส่สีเสื้อต่างจากคนอื่นๆ เพื่อให้กรรมการสังเกตเห็นเวลามีการเปลี่ยนตัวออกจากสนาม
การเปลี่ยนตัวของลิเบอโร่จะไม่นับว่าเป็นการเปลี่ยนตัวผู้เล่น สามารถเปลี่ยนได้ตลอดการแข่ง มักนิยมเปลี่ยนตัวเมื่อผู้เล่นตำแหน่ง Middle Blocker ถูกเวียนมาอยู่แดนหลัง ข้อสำคัญคือลิเบอโร่จะไม่สามารถเสิร์ฟลูกแต่ยังสามารถเซทลูกให้กับผู้เล่นคนอื่นได้ (ทำได้เฉพาะภายในแดนหลังเท่านั้น)
ผู้เล่นตำแหน่งลิเบโร่ในเรื่อง: นิชิโนยะ ยู ,ยาคุ โมริสุเกะ ,โคโมริ โมโตยะ
( ขอบคุณข้อมูลจาก haikyuu fandom ,Haikyuu-volleyball , คุณ @typopersoner )
1) Setter (S) – เป็นตำแหน่งที่สำคัญที่สุดเรียกได้ว่าเป็นหัวใจหลักของทีมเลยก็ว่าได้ เพราะผู้เล่นตำแหน่งนี้จะต้องใช้ไหวพริบอย่างมากในการจ่ายบอลให้เพื่อนร่มทีม เพื่อการทำคะแนน ไม่เพียงเท่านั้นตำแหน่งนี้จะต้องคอยแก้ไขสถานการณ์ยามคับขัน และยังสามารถขึ้นกำแพงบล็อคสามด้านข้างสนามร่วมกับตัวบล็อคได้อีกด้วย
ผู้เล่นตำแหน่งเซตเตอร์ในเรื่อง: คาเงยามะ โทบิโอะ ,สึกาวะระ โควชิ ,โออิคาวะ โทรุ ,เคนมะ โคสุเมะ
2) Outside Hitter (OH) หรือ Wing Spiker (WS) – มี 2 คนยืนไขว้กันหรือตรงข้ามกันแล้วแต่กันจัดตำแหน่งของโค้ช ส่วนมากจะมี 1 คนยืนเสาซ้าย ทำหน้าที่เป็นตัวตบหลักของทีมและอีก 1 คนอยู่แดนหลัง มักจะเป็นผู้มีทักษะด้านการรับลูกที่ดี ทำหน้าที่คอยรับบอลเสิร์ฟ ป้องกันเกมส์รุก
ผู้เล่นตำแหน่งตัวตบในเรื่อง: ซาวามุระ ไดจิ ,ทานากะ ริวโนะสุเกะ ,อิวาอิสึมิ ฮาจิเมะ ,โบคุโตะ โคทาโร่ ,ซาคุสะ คิโยโอมิ
3) Middle Blocker (MB) – เป็นตำแหน่งผู้เล่นที่อยู่ตรงกลางของแดนหน้า ทำหน้าที่หลักในการบล็อกลูกหรือสกัดบอลไม่ให้อีกทีมสามารถตบบอลผ่านแดนเข้ามาได้ ส่วนหน้าที่รองคือ การทำแต้มจากบอลเร็ว ส่วนใหญ่ผู้เล่นตำแหน่งนี้จะมีด้วยกันทั้งหมด 2 คน และมีความสูงมากกว่าตำแหน่งอื่นๆ ถ้าแต้มไหนทีมต้องรับบอลเสิร์ฟ มักจะเปลี่ยน 1 คนออกมาแล้วให้ลิเบโร่เข้าไปในสนามแทน
ผู้เล่นตำแหน่งบล็อคกลางในเรื่อง: ฮินาตะ โชโย ,สึกิชิมะ เคย์ ,คุโรโอะ เท็ตสึโร่ ,เทนโด ซาโทริ
4) Opposite (OP) – ตัวตบที่จะยืนตรงข้ามกับตัวเซ็ต ในกรณีที่ตัวเซ็ตรับบอลแรกในบางสถานการณ์ที่ตัวเซ็ตรับบอลแรก ตำแหน่ง OP จะเป็นคนเซ็ตแทน ส่วนมากจะเป็นตัวตบทำคะแนนหลัก ไม่ค่อยเน้นรับบอลแรกที่เสิร์ฟมาจากอีกฝั่ง เน้นรอขึ้นตบทำคะแนนอย่างเดียว มักจะยืนทางเสาขวา
ผู้เล่นตำแหน่งตรงข้ามตัวเซตในเรื่อง: อุชิจิมะ วากาโทชิ ,อาสึมาเนะ อาซาฮี ,โคโนฮะ อากิโนริ ,เคียวทานิ เคนทาโร่ ,ฮินาตะ โชโย (MSBY)
5) Libero (L) – ลิเบโร่ หรือตัวรับอิสระ ตำแหน่งของผู้เล่นที่มีความเชียวชาญทางด้านการรับลูก จึงไม่จำเป็นว่าผู้เล่นต้องตัวสูง และเป็นตำแหน่งพิเศษที่ผู้เล่นจะถูกกำหนดให้ใส่สีเสื้อต่างจากคนอื่นๆ เพื่อให้กรรมการสังเกตเห็นเวลามีการเปลี่ยนตัวออกจากสนาม
การเปลี่ยนตัวของลิเบอโร่จะไม่นับว่าเป็นการเปลี่ยนตัวผู้เล่น สามารถเปลี่ยนได้ตลอดการแข่ง มักนิยมเปลี่ยนตัวเมื่อผู้เล่นตำแหน่ง Middle Blocker ถูกเวียนมาอยู่แดนหลัง ข้อสำคัญคือลิเบอโร่จะไม่สามารถเสิร์ฟลูกแต่ยังสามารถเซทลูกให้กับผู้เล่นคนอื่นได้ (ทำได้เฉพาะภายในแดนหลังเท่านั้น)
ผู้เล่นตำแหน่งลิเบโร่ในเรื่อง: นิชิโนยะ ยู ,ยาคุ โมริสุเกะ ,โคโมริ โมโตยะ
( ขอบคุณข้อมูลจาก haikyuu fandom ,Haikyuu-volleyball , คุณ @typopersoner )
Volleyball's rules
วอลเลย์บอล กีฬาที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับ 3 ของโลก โดยเล่นเป็นทีมจำนวน 2 ทีมบนสนามที่แบ่งแดนด้วยตาข่าย จุดมุ่งหมายของการแข่งขันก็คือ การส่งลูกข้ามตาข่ายให้ตกลงบนพื้นที่ในแดนของทีมตรงข้าม และป้องกันไม่ให้ทีมตรงข้ามส่งลูกข้ามตาข่ายมาตกบนพื้นที่ในเขตแดนของตน
วอลเลย์บอล กีฬาที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับ 3 ของโลก โดยเล่นเป็นทีมจำนวน 2 ทีมบนสนามที่แบ่งแดนด้วยตาข่าย จุดมุ่งหมายของการแข่งขันก็คือ การส่งลูกข้ามตาข่ายให้ตกลงบนพื้นที่ในแดนของทีมตรงข้าม และป้องกันไม่ให้ทีมตรงข้ามส่งลูกข้ามตาข่ายมาตกบนพื้นที่ในเขตแดนของตน
สนามแข่งขัน
- จะต้องเป็นพื้นไม้หรือพื้นปูนที่มีลักษณะเรียบ ไม่มีสิ่งกีดขวาง
- เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 9 เมตร ยาว 12 เมตร ความสูงจากพื้นประมาณ 7 เมตร มีบริเวณโดยรอบห่างจากสนามประมาณ 3 เมตร
- แต่หากเป็นสนามมาตรฐานในระดับนานาชาติ กำหนดให้รอบสนามห่างจากสนามประมาณ 5 เมตร ด้านหลังห่าง 8 เมตร และมีความสูง 12.5 เมตร
- เส้นรอบสนาม (Boundary lines) ทุกเส้นจะต้องกว้าง 5 เซนติเมตร เป็นสีอ่อนตัดกับพื้นสนาม มองเห็นได้ชัดเจน
- เส้นแบ่งเขตแดน (Center line) ที่อยู่ตรงกลางสนาม จะต้องอยู่ใต้ตาข่าย หรือตรงกับเสาตาข่ายพอดี
ตาข่าย
- จะต้องมีความสูงจากพื้น 2.43 เมตร กว้าง 1 เมตร ยาว 9.5 – 10 เมตร
- ตารางในตาข่ายกว้าง 10 เซนติเมตร ผู้ติดไว้กับเสากลางสนาม
- ตาข่ายสำหรับทีมหญิงสูง 2.24 เมตร
ลูกวอลเลย์บอล
- เป็นทรงกลมมีเส้นรอบวงประมาณ 65-67 เซนติเมตร น้ำหนัก 260-280 กรัม
- ทำจากหนังสังเคราะห์ที่ยืดหยุ่นได้
- ซึ่งในการแข่งขันระดับโลกจะใช้ลูกบอล 3 ลูกต่อการแข่งขัน เพื่อความต่อเนื่องหากบอลออกนอกสนาม
ผู้เล่น
- ในทีมจะต้องมีผู้เล่นไม่เกิน 12 คน ผู้ฝึกสอน 1 คน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน 1 คน เทรนเนอร์ 1 คน และแพทย์ 1 คน
- ผู้เล่นจะลงเล่นในสนามได้ครั้งละ 6 คน โดยแบ่งออกเป็นหน้าตาข่าย 3 คน และด้านหลังอีก 3 คน
- สามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นครั้งละกี่คนก็ได้ โดยผู้เล่นเดิมที่ถูกเปลี่ยนออก สามารถเปลี่ยนกลับมาเล่นในสนามได้อีก
- การแต่งกายในชุดแข่งขัน ต้องแต่งกายเหมือนกันทั้งทีม ประกอบไปด้วย เสื้อสวมคอ กางเกงขาสั้น ถุงเท้า และรองเท้าผ้าใบพื้นยางที่ไม่มีส้น โดยผู้เล่นแต่ละคนจะต้องติดหมายเลขกำกับไว้ที่เสื้อ กำหนดให้ใช้เลข 1-18 เท่านั้น สำหรับหัวหน้าทีมจะต้องมีแถบผ้าขนาด 8×2 เซนติเมตร ติดอยู่ใต้หมายเลขบริเวณอกเสื้อด้วย
วิธีการเล่น
- ทีมที่ได้เสิร์ฟ จะต้องให้ผู้เล่นที่อยู่ในตำแหน่งขวาหลัง เป็นผู้เสิร์ฟเพื่อเปิดเกม จากนั้นผู้เล่นทุกตำแหน่งจะขยับตำแหน่งวนไปตามเข็มนาฬิกา
- การเสิร์ฟจะต้องรอฟังสัญญาณนกหวีดก่อน และให้เริ่มเสิร์ฟลูกบอลภายใน 5 วินาที
- ทีมที่ได้คะแนนจะเป็นผู้ได้เสิร์ฟ จนกว่าจะเสียคะแนนให้ฝ่ายตรงข้ามจึงจะเปลี่ยนเสิร์ฟ
- เมื่อลูกเข้ามาในเขตแดนของทีม จะสามารถเล่นบอลได้มากที่สุด 3 ครั้งเท่านั้น
- สามารถบล็อคลูกบอลจากฝ่ายตรงข้ามที่หน้าตาข่ายได้ แต่หากผู้เล่นล้ำเข้าไปในแดนของฝ่ายตรงข้ามจะถือว่าฟาวล์
- สามารถขอเวลานอกได้ 2 ครั้งต่อ 1 เซต ให้เวลาครั้งละ 30 วินาที
- ทุกครั้งที่แข่งขันจบ 1 เซต จะต้องมีการเปลี่ยนฝั่ง
การคิดคะแนน
- ทีมจะได้คะแนนเมื่อลูกบอลตกลงในเขตสนามของฝ่ายตรงข้าม โดยนับเป็นลูกละ 1 คะแนน และหากมีการเสียคะแนน จะต้องเปลี่ยนให้ทีมที่ได้คะแนนเป็นผู้เสิร์ฟ
- หากทีมไหนได้คะแนนครบ 25 คะแนนก่อน ก็จะเป็นผู้ชนะในเซตนั้นไป แต่หากคะแนนเสมอกันที่ 24-24 จะต้องมีการดิวซ์ (Deuce) หมายถึงต้องทำคะแนนให้มากกว่าอีกฝ่าย 2 คะแนน ถึงจะเป็นผู้ชนะ เช่น 26-24 หรือ 27-25 เป็นต้น
- ต้องแข่งขันกันให้ชนะ 3 ใน 5 เซต จึงจะเป็นผู้ชนะในเกมนั้น
( ขอบคุณข้อมูลจาก Siamsporttalk )
- จะต้องเป็นพื้นไม้หรือพื้นปูนที่มีลักษณะเรียบ ไม่มีสิ่งกีดขวาง
- เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 9 เมตร ยาว 12 เมตร ความสูงจากพื้นประมาณ 7 เมตร มีบริเวณโดยรอบห่างจากสนามประมาณ 3 เมตร
- แต่หากเป็นสนามมาตรฐานในระดับนานาชาติ กำหนดให้รอบสนามห่างจากสนามประมาณ 5 เมตร ด้านหลังห่าง 8 เมตร และมีความสูง 12.5 เมตร
- เส้นรอบสนาม (Boundary lines) ทุกเส้นจะต้องกว้าง 5 เซนติเมตร เป็นสีอ่อนตัดกับพื้นสนาม มองเห็นได้ชัดเจน
- เส้นแบ่งเขตแดน (Center line) ที่อยู่ตรงกลางสนาม จะต้องอยู่ใต้ตาข่าย หรือตรงกับเสาตาข่ายพอดี
ตาข่าย
- จะต้องมีความสูงจากพื้น 2.43 เมตร กว้าง 1 เมตร ยาว 9.5 – 10 เมตร
- ตารางในตาข่ายกว้าง 10 เซนติเมตร ผู้ติดไว้กับเสากลางสนาม
- ตาข่ายสำหรับทีมหญิงสูง 2.24 เมตร
ลูกวอลเลย์บอล
- เป็นทรงกลมมีเส้นรอบวงประมาณ 65-67 เซนติเมตร น้ำหนัก 260-280 กรัม
- ทำจากหนังสังเคราะห์ที่ยืดหยุ่นได้
- ซึ่งในการแข่งขันระดับโลกจะใช้ลูกบอล 3 ลูกต่อการแข่งขัน เพื่อความต่อเนื่องหากบอลออกนอกสนาม
ผู้เล่น
- ในทีมจะต้องมีผู้เล่นไม่เกิน 12 คน ผู้ฝึกสอน 1 คน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน 1 คน เทรนเนอร์ 1 คน และแพทย์ 1 คน
- ผู้เล่นจะลงเล่นในสนามได้ครั้งละ 6 คน โดยแบ่งออกเป็นหน้าตาข่าย 3 คน และด้านหลังอีก 3 คน
- สามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นครั้งละกี่คนก็ได้ โดยผู้เล่นเดิมที่ถูกเปลี่ยนออก สามารถเปลี่ยนกลับมาเล่นในสนามได้อีก
- การแต่งกายในชุดแข่งขัน ต้องแต่งกายเหมือนกันทั้งทีม ประกอบไปด้วย เสื้อสวมคอ กางเกงขาสั้น ถุงเท้า และรองเท้าผ้าใบพื้นยางที่ไม่มีส้น โดยผู้เล่นแต่ละคนจะต้องติดหมายเลขกำกับไว้ที่เสื้อ กำหนดให้ใช้เลข 1-18 เท่านั้น สำหรับหัวหน้าทีมจะต้องมีแถบผ้าขนาด 8×2 เซนติเมตร ติดอยู่ใต้หมายเลขบริเวณอกเสื้อด้วย
วิธีการเล่น
- ทีมที่ได้เสิร์ฟ จะต้องให้ผู้เล่นที่อยู่ในตำแหน่งขวาหลัง เป็นผู้เสิร์ฟเพื่อเปิดเกม จากนั้นผู้เล่นทุกตำแหน่งจะขยับตำแหน่งวนไปตามเข็มนาฬิกา
- การเสิร์ฟจะต้องรอฟังสัญญาณนกหวีดก่อน และให้เริ่มเสิร์ฟลูกบอลภายใน 5 วินาที
- ทีมที่ได้คะแนนจะเป็นผู้ได้เสิร์ฟ จนกว่าจะเสียคะแนนให้ฝ่ายตรงข้ามจึงจะเปลี่ยนเสิร์ฟ
- เมื่อลูกเข้ามาในเขตแดนของทีม จะสามารถเล่นบอลได้มากที่สุด 3 ครั้งเท่านั้น
- สามารถบล็อคลูกบอลจากฝ่ายตรงข้ามที่หน้าตาข่ายได้ แต่หากผู้เล่นล้ำเข้าไปในแดนของฝ่ายตรงข้ามจะถือว่าฟาวล์
- สามารถขอเวลานอกได้ 2 ครั้งต่อ 1 เซต ให้เวลาครั้งละ 30 วินาที
- ทุกครั้งที่แข่งขันจบ 1 เซต จะต้องมีการเปลี่ยนฝั่ง
การคิดคะแนน
- ทีมจะได้คะแนนเมื่อลูกบอลตกลงในเขตสนามของฝ่ายตรงข้าม โดยนับเป็นลูกละ 1 คะแนน และหากมีการเสียคะแนน จะต้องเปลี่ยนให้ทีมที่ได้คะแนนเป็นผู้เสิร์ฟ
- หากทีมไหนได้คะแนนครบ 25 คะแนนก่อน ก็จะเป็นผู้ชนะในเซตนั้นไป แต่หากคะแนนเสมอกันที่ 24-24 จะต้องมีการดิวซ์ (Deuce) หมายถึงต้องทำคะแนนให้มากกว่าอีกฝ่าย 2 คะแนน ถึงจะเป็นผู้ชนะ เช่น 26-24 หรือ 27-25 เป็นต้น
- ต้องแข่งขันกันให้ชนะ 3 ใน 5 เซต จึงจะเป็นผู้ชนะในเกมนั้น
( ขอบคุณข้อมูลจาก Siamsporttalk )
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น